วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

วิธีทำ เลเวลแมชชิ่ง

เอาความรู้ในการปรับตั้ง เลเวลแมชชิ่งที่ถูกวิธีที่ไม่มั่วโดยใช้สโคปมาให้ชมครับ 

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องชั่งดิจิตอล

เครื่องชั่งดิจิตอล  มีให้เลือกหลายขนาดตั้งแต่ 20g ,200g , 300g ,500g ,1,000g , 2,000g
เหมาะสำหรับงานจิวเวลรี่ , ทอง , ร้านเบเกอรี่ . ฯลฯ  สินค้าคุณภาพสูง

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

เพาเวอร์แอมป์คลาสดี ราคาไม่แพงมากครับ ProAcoustic




ขนาดของสายต่อกำลังของวัตต์





Recommended Cable Size by Power and Distance
Total RMS
Power (watts)
Distance
4 feet
8 feet
12 feet
16 feet
20 feet
100
10 gauge
10 gauge
8 gauge
8 gauge
4 gauge
200
10 gauge
8 gauge
8 gauge
4 gauge
4 gauge
400
8 gauge
8 gauge
4 gauge
4 gauge
4 gauge
600
8 gauge
4 gauge
4 gauge
4 gauge
4 gauge
800
4 gauge
4 gauge
4 gauge
2 gauge
2 gauge
1000
4 gauge
4 gauge
2 gauge
2 gauge
2 gauge
1400
4 gauge
2 gauge
2 gauge
2 gauge
2 gauge


Current Draw by Power
Total RMS
Power (watts)
Current
Amps
100
      16      
200
32
400
64
600
96
800
128
1000
160
1200
172
1400
188
Power & Ground Cable Specs
Cable Size
Wire Gauge
Current Capacity
Amperage (amps)
1/0
350
2
225
4
150
8
100
10
60
12
40
14
25
16
15

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558


รายชื่อผู้เข้าอบรมงาน "ศาสตร์แห่งการสร้างรถ SQL อย่างมืออาชีพ" ในวันที่ 7-8 มีนาคม ที่ รร.คิงส์ปาร์ค อเวนิว ถ.ศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ
คุณธานินทร์ จ.อุดรธานี
ร้านตูนคาร์ออดิโอ จ.สงขลา
ร้านธีระวัฒน์ จ.ศรีสะเกษ
ร้านสายชล แอร์แอนด์ซาวด์ จ.ศรีสะเกษ
ร้านโชควัฒนา จ.บึงกาฬ
ร้านช่างดุง จ.ร้อยเอ็ด
ร้าน NA Sound จ.ระยอง
ร้าน เก่งคาร์ออดิโอ ปลวกแดง
ร้าน SQ+ จ.ระยอง
ทีมงาน X-Ray 5 ร้านค้า
รวมแล้วตอนนี้ 14 ร้านค้า ท่านใดยังมิได้จองต้องรีบแล้วนะครับเพราะรับจำนวนจำกัด


อันนี้เป็นนิตยสารออนไลน์ครับเข้าไปอ่านได้ฟรีครับมีทั้งภาษาไทยและอังกฤษครับผม
ลองเข้าไปหาอ่านกันดูได้นะครับ
http://www.caraudiorally.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B9%8B%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89/

ย่านความถี่กับการปรับแต่ง

มาทำความรู้จักกับย่านเสียงเพื่อการปรับแต่ง

เสียงต่ำ(ช่วงความถี่ 30-110Hz) คือเสียงต่ำของคลื่นเสียงที่มากระทบกับตัวเรา ได้แก่ความถี่ของ ดับเบิ้ลเบส  ซับเบส กลองกระเดื่อง
เสียงกลาง(ช่วงความถี่ 110-3540Hz) คือเสียงกลางต่ำ กลาง และกลางสูง ซึ่งเสียงนี้มีชินดนตรีอยู่หลายชนิดเช่น  กลองสแนร์  กลองทอม กีตาร์  ไวโอลิน แซกโซโฟน คาริเน็ต ฟรุ๊ต เสียงร้องของทั้งผู้หญิงผู้ชาย
เสียงสูง(ช่วงความถี่ 3540-20000Hz) คือเสียงความถี่สูงที่มีชิ้นดนตรีที่เรารู้จักกันจะน้อยกว่าชิ้นดนตรีย่านเสียงกลาง เช่นเสียง เบล เสียงเคาะแก้ว เสียงปลายแฉ เสียงสูงของออแกน เสียงปิกโกโล่  เปียโน  พิณฝรั่ง  เป็นต้น

- เสียงร้องประเภท Bass: เป็นเสียงร้องระดับต่ำของผู้ชาย จะมีความถี่หลักระหว่าง 70Hz-380Hz และจะมีความถี่รองระหว่าง 380Hz-10kHz
- เสียงร้องประเภท Baritone: เป็นเสียงร้องระดับกลางของผู้ชาย จะมีความถี่หลักระหว่าง 90Hz-400Hz และจะมีความถี่รองระหว่าง 400Hz-10kHz
- เสียงร้องประเภท Tenor: เป็นเสียงร้องระดับสูงสุดของผู้ชาย จะมีความถี่หลักระหว่าง 130Hz-500Hz และจะมีความถี่รองระหว่าง 500Hz-10kHz
- เสียงร้องประเภท Alto: เป็นเสียงร้องระดับต่ำสุดของผู้หญิง จะมีความถี่หลักระหว่าง 160Hz-950Hz และจะมีความถี่รองระหว่าง 950Hz-10kHz
- เสียงร้องประเภท Soprano: เป็นเสียงร้องระดับสูงของผู้หญิง จะมีความถี่หลักระหว่าง 210Hz-1.2kHz และจะมีความถี่รองระหว่าง 1.2kHz-10kHz

การอบรม "ศาสตร์การสร้างรถ SQL อย่างมืออาชีพ"



                                                                      รับจำนวนจำกัด

หูกับการได้ยิน

หูกับการได้ยิน
หูมนุษย์เป็นตัวการสำคัญของการได้ยินคลื่นเสียง  ทำให้เกิดการรับรู้รับฟัง และทำให้ระบบของการสื่อสารด้วยคลื่นเสียงครบสมบูรณ์  การรับรู้คลื่นเสียงโดยมนุษย์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมาแม้ว่าที่ผ่านมาจะได้มีการค้นคว้าโดยนักวิจัยค้นคว้าหลายต่อหลายคน ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบที่สมบูรณ์ได้ตลอดไปตนถึงการวิเคราะห์วิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่ได้จากเครื่องมือวัดความดังของเสียงกับความรู้สึกต่อเสียงของหูมนุษย์
หูมนุษย์ประกอบด้วยส่วนของหู 3 ส่วน คือส่วนแรกหูส่วนนอก (Outer Ear) ประกอบด้วยใบหู ช่องหู และเยื่อแก้วหู  ส่วนที่สองหูส่วนกลาง (Middle Ear) ประกอบด้วยกระดูกรูปค้อน กระดูกรูปทั่ง และกระดูกรูปโกลน และส่วนที่สามหูส่วนใน (Inner Ear) ประกอบด้วยหน้าต่างรูปไข่ หลอดครึ่งวงกลม 3 หลอดและกระดูกก้นหอย
หูมนุษย์ ประกอบด้วยส่วนประกอบของหู 3 ส่วน คือ หูส่วนนอก หูส่วนกลาง หูส่วนใน การได้ยินเสียงของหูมนุษย์เป็นดังนี้  คลื่นเสียงเมื่อผ่านช่องหูเข้ามา  ทำให้เยื่อแก้วหูเกิดการสั่นเยื่อ แก้วหูถูกต่อกับกระดูกรูปค้อน กระดูกรูปค้อนจึงสั่นตาม  ส่งผ่านไปให้กระดูกรูปทั่งและกระดูกรูปโกลน สั่นตามไปด้วย หูส่วนกลางต่อกับส่วนบนของลำคอ โดยมีท่อยูสเตเชียน เป็นตัวทำให้อากาศผ่านเข้าไปยังหูส่วนกลางขณะกลืน  เพื่อให้ความดันในหูส่วนกลางเท่ากับความดันในอากาศ  กระดูกรูปโกลนต่อกับหน้าต่างรูปไข่ เพื่อส่งผ่านการสั่นของคลื่นเสียงเข้าไปในหูส่วนใน  ที่มีหลอดครึ่งวงกลม 3 หลอดต่อกับกระดูกก้นหอย  ภายในมีการบรรจุของเหลว ที่ช่วยในการส่งถ่ายคลื่นเสียงอยู่ในรูปของความดันไปทำให้เยื่อบาชิล่าร์  ที่มีปลายประสาทสัมผัสอยู่และอยู่ในกระดูกก้นหอย รับรู้คลื่นเสียงที่ส่งเข้ามา เยื่อบาชิล่าร์นี้ ยังสามารถแยกแยะความถี่เสียงที่รับได้ คลื่นเสียงถูกประสาทสัมผัสรับรู้เสียง ส่งต่อไปให้สมองทำการแปลงการรับรู้เป็นการได้ยินเสียงต่อไป
            ความดังเสียงและการได้ยิน
            ความดังเสียงก็คือระดับแรงกดดันของเสียงที่เคลื่อนที่ไปในอากาศไปทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกและได้ยินเสียงนั้น แรงกดดันของเสียงในอากาศน้อยความดังเสียงก็น้อย แรงกดดันของเสียงในอากาศมาก ความดังเสียงก็มาก หูมนุษย์สามารถได้ยินเสียงดังแรงมากขึ้นเป็นลำดับ หากแรงกดดันของเสียงในอากาศมากเกินไป ความดังของเสียงมีระดับสูงมาก จนอาจเป็นอันตรายต่อการได้ยินเสียงของหูมนุษย์ได้
ความถี่เสียงและความดังเสียง
เสียงที่กำเนิดขึ้นมาจากแหล่งกำเนิดต่างๆ จะมีความถี่เสียงที่แตกต่างกัน บางแหล่งกำเนิดอาจทำให้ เสียงความถี่ต่ำ และบางแหล่งกำเนิดอาจจะทำให้เสียงความถี่สูง ความถี่เสียงที่แตกต่างกันนี้เองเป็นตัวกำหนดระดับเสียงดนตรีในรูปแบบต่างๆ ออกมา และใช้เป็นตัวแยกแยะช่วงระดับเสียงที่ถูกกำเนิดขึ้นมาในเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
ความถี่เสียงที่มีระดับความถี่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อระดับแรงกดดันของเสียงในอากาศแตกต่างกัน ในบางช่วงความถี่อาจมีแรงกดดันของเสียงในอากาศสูง  และบางช่วงความถี่อาจมีแรงกดดันของเสียงในอากาศต่ำลง ความแตกต่างดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้ด้วยความถี่ที่แตกต่างกัน การทดสอบความดังต่อการตอบสนองความถี่ของหูมนุษย์ถูกเรียกว่า  ทฤษฎีความดังที่เท่ากัน (Equal Loudness Principle)
ทฤษฎีความดังที่เท่ากันนี้มีความสำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับนักออกแบบเสียง โดยต้องคำนึงถึงระดับความดังขณะบันทึกเสียงและขณะเล่นเสียงกลับออกมา  ซึ่งจะมีผลต่อระดับเสียงทุ้มและเสียงแหลมที่ได้ออกมา  อาจมากเกินไปหรืออาจลดลงเกือบหมด ความไว (Sensitivity) ในการตอบสนองความถี่ของหูมนุษย์ต่อระดับความดังของเสียง  ความไวการได้ยินเสียงของหูมนุษย์ในระดับความถี่ต่างๆที่มีผลต่อระดับเสียงเปลี่ยนไปที่ความรู้สึกความดังเท่ากัน  การทดสอบความดังทำได้โดยตั้งความถี่เครื่องกำเนิดเสียงมาตรฐานไว้ที่ 1,000 Hz ปรับระดับความดังเสียงไว้ค่าหนึ่ง เช่น 10dB นำเครื่องกำเนิดเสียงใดๆ ที่ปรับความถี่และความดังได้มาเทียบกับเครื่องกำเนิดเสียงมาตรฐานที่ตั้งไว้ โดยปรับความถี่ในค่าต่างๆ ให้มีความดังเท่ากับเครื่องกำเนิดเสียงมาตรฐาน วัดและบันทึกค่าระดับเสียงที่ความถี่ต่างๆไว้ เมื่อเปลี่ยนระดับความดังเสียงของเครื่องกำเนิดเสียงมาตรฐานไปอยู่ในระดับอื่นๆ และทดสอบในลักษณะเดียวกัน จะได้กราฟเส้นอื่นๆ ออกมา เรียงเป็นลำดับกันไป  ผลที่ได้ออกมาบอกให้ทราบว่าเส้นโค้งแต่ละเส้นที่ระดับความดังเดียวกัน มีระดับเสียงในหน่วยระดับ dB-SPL แต่ละช่วงความถี่ไม่เท่ากัน

ความถี่และระดับเสียง
คลื่นเสียงเมื่อเคลื่อนที่ไปโดยมีการแกว่งตัวจากจุดเริ่มต้นไปทางช่วงบวก และกลับมาช่วงลบ จนมาครบตำแหน่งที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง เรียกการเคลื่อนที่นี้ว่า  การเคลื่อนที่ครบ 1 รอบคลื่น หรือ 1 ไซเคิล  เมื่อทำการวัดจำนวนรอบคลื่นในการเคลื่อนที่ในเวลา 1 วินาที เราเรียกค่านี้ว่า ความถี่ นั่นคือความถี่เป็นการวัดจำนวนรอบคลื่นในเวลา 1 วินาที(c/s) มีหน่วยความถี่เป็น เฮริตซ์ (Hz) เช่น คลื่นเสียงเดินทางได้ 200c/s หรือ 200 Hz เป็นต้น

แถบความถี่เสียงในทางทฤษฎี มีความถี่ในช่วง 20-20,000 Hz แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว หูมนุษย์มีความสามารถได้ยินเสียงอยู่ในช่วง 20-18,000 Hz เท่านั้น ความถี่สูงกว่านี้หูมนุษย์ไม่มีความรู้สึกได้ยินเสียงการตอบสนองความถี่เสียงของหูมนุษย์ ยังขึ้นอยู่กับอายุ และอาการป่วยของแต่ละคนด้วย  การสูญเสียการได้ยินเสียงของหูมนุษย์ 

มาลองทดสอบหูเราว่าขีดความสามารถในการรับรู้เสียงได้ขนาดไหน



เสียงและการได้ยิน

คลื่นเสียง
“เสียง” เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่กำเนิดขึ้นได้จากการสั่นของอากาศโดยรอบ ในลักษณะความถี่ต่ำ มักถูกเรียกว่าความถี่เสียง  (Audio Frequency ) มีย่านความถี่ประมาณ 20-20,000 Hz ความถี่สียงถือเป็นความถี่ที่หูมนุษย์สามารถรับฟังและได้ยินได้  คลื่นเสียงเป็นคลื่นที่ไม่สามารถเดินทางไปได้ไกล เกิดการเจือจางหายได้ง่าย เพราะเป็นคลื่นที่เกิดจากการสั่นของอากาศ  จากแหล่งกำเนิดเสียงไปยังหูผู้ฟัง  นั่นหมายถึงว่าการรับฟังเสียงได้นั้น อากาศที่อยู่รอบๆหู ต้องมีการสั่นและไปทำให้เยื่อแก้วหูเกิดการสั่นตาม จึงสามารถฟังคลื่นเสียงนั้นได้  คลื่นเสียงเกิดขึ้นได้จากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ หลายชนิดแตกต่างกัน ให้คลื่นเสียงออกมาได้ในความถี่ที่แตกต่างกัน  แต่จะมีลักษณะของคลื่นเป็นรูปคลื่นไซน์ (Sine Wave)  เหมือนกัน  คือมีส่วนของสัญญาณแรงสุด (Maximum Signal) และส่วนของสัญญาณเบาสุด (Minimum Signal)  การเปลี่ยนแปลงเพิ่มหรือลดเป็นไปตามลำดับสลับไปมา คลื่นเสียงที่เคลื่อนที่ไปตามอากาศ มีผลทำให้อากาศเกิดการอัดตัว (Compression) และการขยายตัว (Rarefaction) สลับกันไป  เคลื่อนที่ค่อยๆ ออกห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ลักษณะการเกิดการสั่นของอากาศและการเกิดคลื่นเสียง ช่วงที่อากาศอัดตัวเปรียบได้กับคลื่นไซน์ช่วงบวก(+) และในช่วงที่อากาศขยายตัวเปรียบได้กับคลื่นไซน์ช่วงลบ (-)  การเกิดคลื่นเสียงแบบไซน์นี้เกิดสลับไปสลับมาตลอดเวลา  ช่วงอัดตัวของคลื่นส่วนหนึ่งไปยังช่วงอัดตัวของคลื่นอีกส่วนหนึ่งถูกเรียกว่าความยาวคลื่น ( l ) ซึ่งต้องคิดเทียบเวลา  ส่วนประกอบของคลื่นเสียงประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) , ความแรง (Amplitude) , ความเร็ว (Velocity) , ความยาวคลื่น (Wavelength) , รอบคลื่น (Cycle)  และเฟส (Phase)


คุณสมบัติและส่วนประกอบของคลื่นเสียง
          อากาศคือตัวกลางในการพาคลื่นเสียงให้เคลื่อนที่ไปได้  โดยอาศัยการอัดตัวและการขยายตัวของ โมเลกุล (Molecule) อากาศ  โมเลกุลอากาศมีลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ (Elasticity) ช่วยให้คลื่นเสียงเดินทางไปได้ด้วยการส่งผ่านแรงกระตุ้นจากโมเลกุลหนึ่งไปยังโมเลกุลข้างเคียงเป็นลำดับ
            ความเร็วเสียงของคลื่นเสียงที่ในอากาศที่ 0°c ได้เท่ากับ 331 เมตร/วินาที  และมีความเร็วเพิ่มขึ้นประมาณ 0.6 เมตร/วินาที เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1°c สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้                                    
                                              V      =  V° +0.6t
เมื่อ V = อัตราเร็วของเสียงที่อุณหภูมิใดๆ หน่วยเป็นเมตร/วินาที (m/s)
      V° = อัตราเร็วของเสียงที่ 0°c = 331 m/s
       t   = อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจาก 0°c
วิธีคิดง่ายๆถ้าเราขี้เกียจหาก็คือ ทุกๆ 3 เมตรอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 5ºc เช่นถ้าเราเซ็ตเสียงภายในรถที่มีอุณหภูมิห้อง 20ºC ก็จะมีระยะทาง = 343 เมตร/วินาทีครับ ในคราวหน้าผมจะมาอธิบายเรื่องการหาจุดตกของเสียงอีกทีครับ (สูตรการคำนวณนี้สามารถใช้ได้ทั้งการเซ็ตรถแบบ SQ ,SQL , SPL เลยนะครับ) แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจกับมันเสียก่อนนะครับ เอามาอ่านกันต่อ คลื่นเสียงที่กำเนิดขึ้นมาปกติจะมีลักษณะเป็นรูปคลื่นไซน์  ที่มีการแกว่งตัวไปในช่วงบวก (+) และกลับมาในช่วงลบ (-) สลับไปมาตลอดเวลา  การแกว่งตัวที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปอย่างมีจังหวะ อยู่ในรูปของฮาร์โมนิกพื้นฐาน  หรือคือคลื่นเสียงที่กำเนิดขึ้นมาจากแหล่งกำเนิดโดยไม่มีคลื่นอื่นปะปน  ลักษณะคลื่นเสียงเป็นแบบไซน์และส่วนประกอบ  ฮาร์โมนิกพื้นฐานมีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องหลายส่วนที่เราควรรู้จักดังนี้นะครับ

                                               
รอบคลื่น  คือการแกว่งตัวของคลื่นเสียงแบบไซน์ไปทางช่วงบวก (+) หนึ่งครั้งและกลับมาทางช่วงลบ (-) หนึ่งครั้ง จนครบรอบการเคลื่อนที่  หรือกล่าวได้อีกลักษณะหนึ่งว่าคือการเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศในช่วงอัดตัวหนึ่งครั้ง  และในช่วงขยายตัวหนึ่งครั้ง  เป็นการเคลื่อนที่ครบรอบ  รอบคลื่นนี้มีผลบอกให้ทราบถึงความถี่เสียงของคลื่นด้วย  รอบคลื่นใช้อักษรย่อ”C”
ความยาวคลื่น  คือระยะห่างของยอดคลื่นลูกหนึ่งไปถึงยอดคลื่นอีกลูกหนึ่งที่อยู่ติดกันและมีเฟสเหมือนกัน  ความยาวคลื่นสามารถบอกให้ทราบความถี่คลื่นเสียง และความเร็วในการเคลื่อนที่ของเสียงได้ ความยาวคลื่นใช้อักษรย่อตัวแรมดา l
ความแรงคลื่น  หรือความดังคลื่น  คือระดับความสูงของคลื่นเสียงที่เกิดขึ้นมา  ความแรงคลื่นถูกบอกค่าออกมาเป็นแรงดันหน่วยเป็นโวลต์ (V) สามารถบอกได้เป็น 2 ค่า คือค่ายอด(Peak Value)
หรือ Vp  บอกค่าจากแกน 0V. ไปทางยอดบวกเรียกว่า +Vp หรือไปทางยอดลบเรียกว่า –Vp  และบอกเป็นค่ายอดถึงยอด (Peak to Peak Value) หรือ Vpp  บอกค่าจากยอดลบถึงยอดบวก
            ส่วนค่าความดังคลื่นคือความดังของคลื่นเสียงที่หูมนุษย์ได้ยินถูกบอกค่าออกมาเป็นหน่วยเดซิเบล (Decibel) หรือ dB
ความถี่ คือค่าที่บอกความเร็วรอบในการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงภายในเวลา 1 นาที (s) ถูกบอกหน่วยเป็นเฮริตซ์ (Hertz) หรือ Hz ค่าความถี่ต้องเกี่ยวข้องกับระดับเสียง (Pitch) ค่าความถี่ต่ำจะมีระดับเสียงต่ำ และความถี่สูงจะมีระดับเสียงสูง เช่นระดับเสียงที่ใช้ในโน้ตดนตรีได้แก่  โด, เร, มี, ฟา, ซอล, ลา, ซี เป็นต้นระดับเสียงที่ใช้ในเรื่องเครื่องเสียงแบ่งได้เป็นหลายลักษณะเช่น  แบ่งเป็นระดับเสียงที่ใช้ในการขับลำโพงได้แก่ เสียงทุ้ม เสียงกลาง เสียงแหลม  หรือแบ่งออกเป็นแถบความถี่เสียง (Sound Frequency Spectrum) ในดนตรีของชาวตะวันตกนั้น ถูกเรียกว่า ออคเตฟ (Octave) ในแต่ละออคเตฟแบ่งความถี่ออกเป็นช่วงเรียงลำดับกันไป  ความถี่ใช้อักษรย่อ “f”

ความเร็ว  คือระยะทางที่เสียงเคลื่อนที่ไปได้ภายในเวลา 1 วินาที ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง ขึ้นอยู่กับตัวกลางที่คลื่นเสียงเดินทางไป เช่น คลื่นเสียงเดินทางในอากาศปกติด้วยความเร็วประมาณ 346 m/s เดินทางในน้ำด้วยความเร็วประมาณ 1463 m/s เดินทางในไม้ด้วยความเร็วประมาณ 3,566 m/s และเดินทางในเหล็กด้วยความเร็วประมาณ 5,486 m/s เป็นต้น ความเร็วใช้อักษรย่อ “v”
            ค่าความเร็วของคลื่นเสียงมีความสัมพันธ์กับความถี่และความยาวคลื่น เขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการได้ดังนี้
                        v  =  lf
            เมื่อ   v  =  ความเร็วคลื่นเสียง  หน่วย m/s
                    lความยาวคลื่นเสียง  หน่วย m.
                    f  =  ความถี่เสียง            หน่วย  Hz

 เฟส  คือ ตำแหน่งมุมของคลื่นเสียงที่เคลื่อนที่มากระทบเยื่อแก้วหูของมนุษย์ จากที่ทราบแล้วว่าคลื่นเสียงเมื่อเคลื่อนที่ครบรอบ  คลื่นมีมุมรวม 360 ° ตำแหน่งมุมตกกระทบแตกต่างกัน  รูปร่างของคลื่นที่ได้ออกมาแตกต่างกัน  หากคลื่นเสียงที่มาตกกระทบมีมากกว่าหนึ่งสัญญาณ  จะมีผลต่อความดังของเสียงที่ได้ยินแตกต่างกัน ผลความดังของเสียงมีค่าโดยตรงกับเฟสของคลื่นเสียงเหล่านั้นที่มาตกกระทบเพราะสัญญาณเสียงที่ส่งหลายสัญญาณเหล่านั้นสามารถรวมกันได้ ซึ่งการรวมกันบางครั้งอาจเสริมกันหรือบางครั้งอาจหักล้างกัน การรวมกันของคลื่นเสียง 2 สัญญาณ ที่มีความดังของเสียงสัญญาณ 1 dB คลื่นเสียงทั้งสองมีเฟสเหมือนกัน (In Phase) ผลของการรวมกันทำให้คลื่นเสียงที่ได้ออกมามีระดับความดังที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 2 dB กลับกันคลื่นเสียงทั้งสองมีเฟสตรงข้ามกัน (Out of Phase) มีผลให้การรวมเป็นแบบหักล้างกัน  ทำให้คลื่นเสียงหักล้างกันหมด  จะไม่ได้ยินคลื่นเสียงดังออกมาหรือระดับความดังจะลดลงมากๆ
กรณีที่คลื่นเสียงรวมกันมีเฟสต่างกัน ผลการรวมตัวกันทำให้บางช่วงหรือบางตำแหน่งของเฟสเสริมกัน  และบางช่วงบางตำแหน่งของเฟสหักล้างกัน คลื่นเสียงที่ได้ออกมาจะมีรูปคลื่นเสียงและตำแห่นงของเฟสเปลี่ยนไป  เสียงที่ดังออกมาอาจจะผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดที่ส่งมา  การรวมตัวของคลื่นเสียงมีเฟสต่างกัน

                                                           

ร่ายยาวเลยครับเกี่ยวกับเรื่องแรกของผมคือเรื่องคลื่นเสียง ในคราวหน้าจะมาต่อกันด้วยเรื่องของหู กับการได้ยิน เพราะเมื่อเราทราบกันแล้วว่าคลื่นเสียงคืออะไร เราก็ต้องมาต่อกันในเรื่องตัวรับการได้ยิน  แต่จะเป็นยังไงนั้น ฉบับหน้าผมจะมาอธิบายให้ฟังครับผม สวัสดีครับ